กติกามวยไทย

กติกาข้อที่ 1 สังเวียน (The Ring)

ในการแข่งขันทั่วไป สังเวียนต้องเป็นเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้

1. ขนาด สังเวียนต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดเล็กด้านละ 20 ฟุต (6.10 เมตร) ขนาดใหญ่ด้านละ 24 ฟุต (7.30 เมตร) วัดภายในเส้นเชือก พื้นเวทีสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 3 ฟุต แต่ไม่สูงกว่า 4 ฟุต

2. เชือก ต้องมีเชือก 4 เส้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์ไม่น้อยกว่า 1½ นิ้ว ขึงติดกับเสาที่มุม สูงจากพื้นเวทีขึ้นไป 16 32 48 และ 60 นิ้ว ตามลำดับ ให้หุ้มเชือกด้วยวัสดุอ่อนนุ่มและเรียบ ที่มุมเชือกด้านในต้องหุ้มด้วยวัสดุอย่างอ่อน เชือกแต่ละด้านของสังเวียนต้องผูกยึดกันด้วยผ้าเหนียวสองชิ้น ซึ่งมีขนาดกว้าง 1 – 1½ นิ้ว โดยมีระยะห่างที่เท่า ๆ กันและผ้าที่ผูกนั้นต้องไม่ลื่นไปตามเชือก

3. พื้นเวที ต้องปลอดภัยได้ระดับ ปราศจากสิ่งกีดขวางใดๆ และต้องยื่นออกไปนอกเชือกอย่างน้อย 20 นิ้ว ต้องปูด้วยสักหลาด ยางหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม มีลักษณะยืดหยุ่นได้ มีความหนาไม่น้อยกว่า 1 ½ นิ้ว ปูทับด้วยผ้าตึงคลุมพื้นเวทีทั้งหมด

4. มุมสังเวียน ต้องตั้งเสาที่มุมทั้งสี่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว สูงขึ้นไปจากเวที 60 นิ้ว พร้อมทั้งหุ้มนวมที่มุมภายในเส้นเชือกให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับนักมวย มุมแดงคือมุมสังเวียนด้านซ้ายมือใกล้กับประธานกรรการควบคุมการแข่งขันหรือประธานคณะลูกขุน

5. บันได มี 3 บันได กว้างไม่น้อยกว่า 3 ฟุต ไว้ที่มุมต้องข้ามของเวทีสองบันไดเพื่อให้นักมวยและพี่เลี้ยงขึ้นลง ส่วนอีกบันไดหนึ่งนั้นให้อยู่ที่มุมตรงกลางสำหรับผู้ชี้ขาดและแพทย์

6. กล่องพลาสติก ที่มุมกลางทั้งสองมุมนอกสังเวียนให้ติดล่องพลาสติกมุมละกล่อง เพื่อให้ผู้ชี้ขาดทิ้งสำลีหรือกระดาษบาง ๆ ที่ซับเลือดแล้ว

7. สังเวียนเพิ่มเติม อาจใช้สังเวียน 2 สังเวียน ในการแข่งขันที่มีนักกีฬามาก หรือชิงชนะสำคัญๆได้

กติกาข้อที่ 2นวม (Gloves)

นวมที่ใช้แข่งขัน ผุ้แข่งขันต้องสวมนวมสีแดงหรือน้ำเงินให้ตรงกับมุมของผู้แข่งขัน โดยคณะกรรการได้จัดไว้ให้และนวมนั้นต้องได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรการบริหารสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทยแล้ว ไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขันใช้นวมของตนเอง

รายละเอียดของนวม

* นักมวยน้ำหนักไม่เกินรุ่นเวลเตอร์เวท ใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ (284 กรัม)

* นักมวยน้ำหนักตั้งแต่รุ่นซูปเวลเตอร์เวท ใช้นวมขนาด 12 ออนซ์ (340 กรัม)

กรรมวิธีควบคุมนวม

สมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย จะเป็นผุ้กำหนดรายละเอียดของนวมให้แก่โรงงานที่ผลิตนวม ผู้ผลิตนวมรายใดที่ประสงค์จะได้รับการรับรองนวม 10 และ 12 ออนซ์ จากสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย จะต้องส่งตัวอย่างนวมให้คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ให้รับรอง จากนั้นผุ้ผลิตจะได้รับตรารับรองอย่างเป็นทางการเพื่อนำไปติดที่นวมแต่ละข้างซึ่งผลิตขึ้นสำหรับใช้แข่งขันมวยไทยสมัครเล่นต่อไป

การตรวจสอบนวมของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่น (W.M.F.) (A.T.B.A. gloving Supervision) ทั้งนวมและผ้าพันมือจะต้องเหมาะสมอยู่ภายใต้การตรวจตาของเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ด้านนี้โดยตรงจำนวน 2 คน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดูแลการปฏิบัติการต่างๆ ให้เป็นไปตามกติกา เจ้าหน้าที่นี้จะคอยดูแลเพื่อให้แน่ใจว่า นักมายปฏิบัติถูกต้องตามกติกาทุกอย่าง จนกระทั่งนักมวยขึ้นสู่เวที

กติกาข้อที่ 3 ผ้าพันมือ (Bandages )

ใช้ผ้าพันมืออย่างอ่อน กว้าไม่เกิน 2 นิ้ว และยาวไม่เกิน 2.5 เมตร หรือผ้าชนิด Velpeau พันมือได้ ผ้าพันมือชนิดอื่นใช้ไม่ได้ ห้ามใช้แถบกาวยางหรือพลาสติกทุกชนิดเป็นผ้าพันมือโดยเด็ดขาด แต่อาจใช้สายยึดเส้นเดียวยาว 3 นิ้ว กว้าง 1 นิ้ว เพื่อยึดผ้าพันมือที่เหนือข้อมือขึ้นมาก็ได้ ห้ามใช้พันสันหมัด

การแข่งขันระดับนานาชาติ ประเทศเจ้าภาพต้องจัดหาผ้าพันมือไว้ให้สำหรับผู้แข่งขัน ทุกคนต้องใช้ผ้าพันมือใหม่ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ที่ห้องแต่งตัวก่อนทำการแข่งขัน

กติกาข้อที่ 4 เครื่องแต่งกาย (Dress )

ผู้แข่งขันต้องแต่งกาย ดังนี้

1. ต้องสวมกางเกงขาสั้นเพียงครึ่งโคนขา สีแดง หรือน้ำเงิน ตามมุมของตนเอง ไม่ปักโฆษณาใหญ่เกินกว่า 10 ตารางเซนติเมตร ต้องสวมเสื้อไม่มีแขน สีเสื้อเป็นสีเดียวกับกางเกงก็ได้

2. ไม่สวมรองเท้า เล็บเท้าต้องตัดสั้น ต้องใช้สนับแข้ง สนับศอกสวมที่ศอกและเท้าทั้งสองข้างตลอดการ แข่งขันและต้องเป็นสนับแข้งสนับศอกที่คณะกรรการสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทยรองรับเท่านั้น ห้ามใช้ผาพันรัดโดยเด็ดขาด

3. ต้องสวมมงคลที่ศีรษะเฉพาะเวลาที่ร่ายรำไหว้ครูก่อนการแข่งขันเท่านั้น และจะผูกผ้าประเจียดที่โคนแขนข้างใดข้างหนึ่ง หรือสองข้างก็ได้ สำหรับเครื่องรางอื่นๆ อนุญาตให้ผูกเอวแต่ต้องหุ้มให้มิดชิดไม่ก่อให้เกิดอันตรายขณะแข่งขัน

4. ต้องสวมกระจับที่ทำขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ซึ่งเมื่อถูกตีด้วยเข่าหรืออาวุธในการต่อสู้อย่างอื่นที่อวัยวะเพศจะไม่ทำให้เกิดอันตราย

5. ต้องใส่สนับฟันเพื่อป้องกันการกระแทกกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะภายในปาก ผู้แข่งขันที่เจตนาคายสนับฟันระหว่างการแข่งขันจะถูกเตือน หากกระทำเช่นนี้อีก จะถูกตัดคะแนนหรือปรับแพ้ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าสนับฟันหลุดออกจากปาก ให้ผู้ชี้ขาดยุติการชกแล้วนำผู้แข่งขันไปที่มุมของเขาเพื่อทำล้างสนับฟันให้สะอาดแล้วใส่กลับคืนเข้าที่ใหม่ ในระหว่างการแข่งขันนั้นห้ามพี่เลี้ยงพูดกับผู้แข่งขันของเขาและห้ามให้น้ำดื่ม

6. ต้องสวมเครื่องป้องกันศีรษะ และเครื่องป้องกันลำตัว ข้อเท้าและข้อศอก ที่คณะกรรมการเตรียมไว้ให้เท่านั้น

7. ห้ามใช้เข็มขัดหรือสิ่งที่เป็นโลหะ เช่น สร้อยคอ ฯลฯ

8. ห้ามใช้น้ำมัน วาสลิน ไข หรือสมุนไพร หรือสิ่งที่ทำให้ผู้แข่งขันเสียเปรียบหรือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจทาร่างกายหรือนวม

9. ผู้แข่งขันต้องโกนนวดเคราให้สะอาดเรียบร้อย ไม่อนุญาตให้ไว้เคราแต่ไว้หนวดได้บางๆ มีความยาวไม่เกินริมฝีปากบน

การละเมิดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายผู้ชี้ขาดจะไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขันที่แต่งกายไม่ถูกต้องเข้าร่วมการแข่งขัน ในกรณีที่นวมหรือเครื่องแต่งกายของผู้แข่งขันไม่เรียบร้อยในขณะการแข่งขันผู้ชี้ขาดจะหยุดการแข่งขันเพื่อจัดให้เรียบร้อย

กติกาข้อที่ 5 อุปกรณ์สังเวียน (Ring Equipment )

เวทีต้องต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ ดังต่อไปนี้

1. ที่นั่งผู้แข่งขันและพี่เลี้ยงก่อนแข่งขัน มุมละ 3 ที่

2. น้ำ 2 ขวด เหยือก 2 ที่ ถัง 2 ใบ สำหรับรองรับน้ำที่ใช้แล้วจากกรวย พร้อมกระบอกน้ำหรือแก้วน้ำที่ทำด้วยพลาสติก

3. ม้านั่งชนิดกลมหมุนเหวี่ยงไปมาได้สำหรับผู้แข่งขันนั่งขณะพักยก 2 ที่พร้อมถาดรอง

4.โต๊ะและเก้าอี้สำหรับกรรมการ เจ้าหน้าที่

5. ใบบันทึกคะแนน พร้อมแฟ้ม

6. นาฬิกาจับเวลา 2 เรือน ระฆังหรือฆ้อง 1 ใบ

7. ป้ายบอกจำนวนคู่และเวลา 1 ชุด

8. ไมโครโฟน พร้อมเครื่องขยายเสียง 1 ชุด

9. อุปกรณ์ปฐมพยาบาล 1 ชุด

10. ป้ายประกาศผลคะแนน 1 ชุด

11. เปลหามคนเจ็บ 1 ชุด

12. เครื่องป้องกันศีรษะ 2 คู่ นวม 4 คู่ กระจับ 4 อัน เครื่องป้องกันลำตัว 4 อัน และที่รัดข้อเท้าข้อศอก (สำหรับมุมแดงและมุมน้ำเงิน)

13. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับตัดสินด้วยระบบไฟฟ้า

กติกาข้อที่ 6 การตรวจร่างกาย การจำแนกรุ่นและการชั่งน้ำหนัก (Medical Examination and Weighin )

ก.การตรวจร่างกาย

ในเวลาของการชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ผุ้แข่งขันต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ว่าเป็นผุ้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ก่อนที่ทำการชั่งน้ำหนักและอาจกำหนดไว้ทำการตรวจร่างกายก่อนชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้การชั่งน้ำหนักเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้านักมวยคนใดไม่น้ำบัตรประจำตัวและสมุดนักมวยมาแสดงในขณะตรวจร่างกายชั่งน้ำหนัก จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขัน

ข. การจำแนกรุ่นมี 19 รุ่นดังนี้

1. รุ่นพินเวท น้ำหนักต้องเกิน 93 ปอนด์ (42.272 กิโลกรัม) และไม่เกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม)

2. รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม) และไม่เกิน 105ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม)

3. รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม)

4. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) และไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม)

5. รุ่นซูปเปอร์ฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม) และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม)

6. รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักต้องเกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม) และไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม)

7. รุ่นซูปเปอร์เบนยตั้มเวท น้ำหนักต้องเกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม) และไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม)

8. รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม) และไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม)

9. รุ่นซูเปอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม) และไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม)

10. รุ่นไลท์เวท น้ำหนักต้องเกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม)

11. รุ่นซูปเปอร์ไลท์เวท น้ำหนักต้องเกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม)

12. รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) และไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม)

13. รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม) และไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม)

14. รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักต้องเกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม) และไม่เกิน 160 ปอนด์ (71575 กิโลกรัม)

15. รุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท น้ำหนักต้องเกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม) และไม่เกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม)

16. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม) และไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม)

17. รุ่นครุยเซอเวท น้ำหนักต้องเกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม) และไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม)

18. รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม) และไม่เกิน 200 ปอนด์ (90.900 กิโลกรัม)

19. รุ่นซูเปอร์เฮวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 200 ปอนด์ขึ้นไป (90.900 กิโลกรัมขึ้นไป)

ค. การชั่งน้ำหนัก

1. ผู้แข่งขันทุกคนต้องพร้อมที่จะชั่งน้ำหนักและตรวจร่างกายในตอนเช้าวันแรกของการแข่งขันตั้งแต่งเวลาประมาณ 07.00 – 10.00 นาฬิกา สำหรับวันแข่งขันต่อไปเฉพาะนักมวยที่จะแข่งขันตามรายการวันนั้น จะต้องมาทำการชั่งน้ำหนักและตรวจร่างกายตั้งแต่เวลา 07.00 – 09.00 นาฬิกา (ควรให้นักมวยตรวจร่างกายจากแพทย์ของสมาคมก่อนทำการชั่งน้ำหนัก)

2. คณะกรราการควบคุมการแข่งขันที่ได้รับการแต่งจตั้งจากคณะกรรการบริหารของสหพันธ์ฯ มีอำนาจขยายเวลาออกไปได้ถ้ามีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ล่าช้า การแข่งขันต้องไม่เริ่มก่อน 3 ชั่งโมง ภายหลังจากการชั่งน้ำหนักสิ้นสุดลง หรือหากการแข่งขันต้องเริ่มขึ้นก่อน 3 ชั่วโมง หลังจากการชั่งน้ำหนัก คณะกรรการควบคุมการแข่งขันจะต้องขอความเห็นจากคณะกรรการแพทย์เสียก่อนว่าการแข่งขั นครั้งนี้จะไม่ทำให้เกิดอันตรายกับนักมวยที่แข่งขันในคู่ต้นๆ

3. น้ำหนักในการชั่งได้เป็นทางการในวันแรกถือเป็นน้ำหนักของนักมวยตลอดการแข่งขัน แต่ต้องมาทำการชั่งน้ำหนักทุกวันที่เขามีการแข่งขัน ผุ้แข่วงขันต้องแข่งขันในรุ่นที่เขาได้ชั่งน้ำหนักเป็นทางการไว้เท่านั้น

4. ในวันชั่งน้ำหนักแต่ละวัน อนุญาตให้ผู้แข่งขันขึ้นชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่งน้ำหนักที่เป็นทางการเพียงครั้งเดียว น้ำหนักที่ชั่งนั้นถือเป็นเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม อนุญาตให้ผู้แทนของทีมที่แข่งขันของเขาชั่งน้ำหนักเข้ารุ่นไม่ได้ในครั้งแรก บรรจุเข้ารุ่นที่สูงขึ้นหรือต่ำลง ตามน้ำหนักของเขาที่ชั่งได้ ถ้ารุ่นนั้นไม่มีผู้แข่งขันจากทีของตนและเวลาของการชั่งน้ำหนักยังไม่สิ้นสุดลง

5. ก่อนทำการชั่งน้ำหนักทุกครั้งผู้แข่งขันต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ปริญญาที่ได้รับการแต่งตั้งว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์จึงจะเข้าแข่งขันได้

6. น้ำหนักที่ปรากฏที่ตาชั่งด้วยตัวเปล่า น้ำหนักที่ชั่งต้องเป็นมาตราเมตริกหรือใช้เครื่องช่างไฟฟ้าก็ได้

กติกาข้อที่ 7 การจับฉลากและการชนะผ่าน (Draws and Byes )

การจับฉลาก การจับฉลากต้องกระทำหลังการทำการตรวจร่างกายและการชั่งน้ำหนัก การจับฉลากต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของทีมที่เกี่ยวข้องและต้องแน่ใจว่าไม่มีผู้แข่งขันคนใดแข่งสองครั้ง โดยที่ผู้แข่งขันคนอื่นยังไม่ได้แข่งขันเลยสักครั้งเดียว การจับฉลากนั้นต้องจับให้ผุ้แข้งขันที่แข่งรอบแรกก่นแล้วค่อยจึงจับให้ผู้ที่ได้บาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีการให้รางวัลให้กับผู้แข่งขันที่ไม่ได้ขึ้นทำการแข่งขันเลย

ก. การชนะผ่าน ในการแข่งขันที่ผู้เข้าร่วมแข่งขันเกิน 4 คน จะต้องจัดให้มีบายในรอบแรก เพื่อลดจำนวนผู้แข่งขันในรอบสองให้เป็นทวีคูณของ 4 16 32 หรือ 64 ผู้แข่งขันที่ได้บายในรอบแรกจะต้องแข่งขันก่อนในรอบสอง ถ้าจำนวนบายในรอบแรกเป็นจำนวนคี่ ผู้ได้บายคนสุดท้ายจะต้องแข่งขันกับผู้ชนะคู่แรกในรอบแรกถ้าจำนวนที่ได้บายเป็นเลขคู่ ผู้แข่งขันจับฉลากได้บายจะต้องแข่งขันก่อนในรอบสองตามลำดับที่ตนจับฉลากได้ ผู้แข่งขันจับลากบายในรอบแรกจะชนะผ่านในรอบสองอีกไม่ได้ในรอบสองอีกไม่ได้ หรือผู้แข่งขันจะชนะผ่านสองครั้งติดต่อกันไม่ได้ถ้ากรณีดั้งกล่าวเกิดขึ้นจะต้องทำการจับฉลากใหม่จากผุ้แข่งขันอื่นที่เหลืออยู่ในรอบนั้นที่ไม่ได้บายหรือชนะผ่านมาก่อน ผู้แข่งขันคนแรกที่จับฉลากได้จะต้องพบกับผู้แข่งขันที่ได้รับประโยชน์จากการบายหรือชนะผ่านในรอบก่อนประธานกรรการควบคุมการแข่งขันต้องแจ้งให้ผู้แทนของทีมทราบในกรณีดังกล่าวและร่วมจับฉลากใหม่ก่อนการแข่งขันนั้นจะเริ่มขึ้น

ข. การจัดลำดับการแข่งขัน ควรจัดตามรุ่นเท่าที่จะทำได้โดยแต่ละรอบจะเริ่มจากรุ่นที่เบาสุดก่อนแล้วเรียงตามลำดับขึ้นไปจนถึงรุ่นหนักที่สุด และในรอบต่อไปก็ให้เริ่มจากรุ่นที่เบาสุดก่อนเป็นอย่างนี้เรื่อยไป ในการจัดโปรแกรมประจำวันอนุญาตให้จีดตามที่เจ้าภาพต้องการได้โดยไม่ขัดแย้งกับที่จับฉลากแล้ว

 

กติกาข้อที่ 8 จำนวนยก ( Rounds )

ให้มีการแข่งขัน 3 ยก ยกละ 2 นาทีโดยพักระหว่างยก 1 นาที การหยุดการแข่งขันเพื่อตัดคะแนน เตือน จัดเครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์ของผู้แข่งขันให้เรียบร้อยหรือเหตุอื่นๆ ไม่นับรวมอยู่ใน 2 นาทีดังกล่าว การพักระหว่างยกต้องให้ได้ 1 นาทีเต็ม ก่อนเริ่มการแข่งขันยกแรกผู้แข่งขันต้องร่ายรำไหว้ครูตามประเพณีทุกคนด้วยมีดนตรี ประกอบด้วย ปี่ชวา ฉิ่ง และกลองแขก เมื่อร่ายรำไหว้ครูเสร็จแล้วจึงให้เริ่มการแข่งขันได้ ห้ามไหว้ครูด้วยการร่ายรำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบมวยไทย สำหรับมวยหญิงให้มีระยะของการพักระหว่างยกเพิ่มมากขึ้นเป็น 2 นาที ในแต่ละยก

กติกาข้อที่ 9 พี่เลี้ยง (The Second )

ผู้แข่งขันแต่ละคนให้มีพี่เลี้ยง 2 คน ซึ่งต้องปฏิบัติตามกติกา ดังต่อไปนี้

1. เฉพาะพี่เลี้ยงสองคนเท่านั้นที่ขึ้นบนเวทีได้และจะมีคนใดคนหนึ่งเท่านั้นที่เข้าไปในสังเวียนขณะพักยกได้ และต้องแต่งกายให้เรียบร้อยสวมรองเท้าหุ้มส้น

2. ในระหว่างการแข่งขัน พี่เลี้ยงทั้งสองคน ต้องนั่งประจำที่จะไปอยู่ขอบเวทีไม่ได้ก่อนเริ่มการแข่งขันในแต่ละยกพี่เลี้ยงจะต้องยกเก้าอี้ผู้แข่งขัน ผ้าเช็ดตัว ถังน้ำ ฯลฯ ออกจากขอบเวที

3. ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่ พี่เลี้ยงจะต้องมีผ้าเช็ดหน้าและฟองน้ำสำหรับผู้แข่งขันของเขา พี่เลี้ยงอาจยอมแพ้แทนผู้แข่งขันได้เมื่อเห็นว่าผู้แข่งขันของเขาไม่ไหว โดยการโยนผ้าเช็ดหน้าหรือฟองน้ำลงไปในสังเวียน เว้นแต่ผู้ชี้ขาดกำลังนับ

4. ประธานกรรการควบคุมการแข่งขันจะต้องให้มีการประชุมระหว่างผุ้ชี้ขาด ผู้ตัดสินและพี่เลี้ยงในการแข่งขันและเน้นให้ทุกคนทราบว่าผุ้แข่งขันคนใดไม่ปฏิบัติตามกติกานี้อาจไม่เพียงถูกตัดคะแนนเท่านั้น แต่อาจถูกตัดสินแพ้ได้ด้วย

5. พี่เลี้ยงจะแนะนำช่วยเหลือ หรือส่งเสริมผู้แข่งขันของเขาในขณะที่แข่งขันไม่ได้ ถ้าพี่เลี้ยงละเมิดกติกา อาจถูกตักเตือนหรือให้ออกจากหน้าที่ ส่วนผู้แข่งขันของเขาอาจถูกผู้ตัดสินเตือน ตำหนิโทษหรือออกจากการแข่งขันอันเกิดจากการกระทำของพี่เลี้ยงก็ได้ พี่เลี้ยงหรือเจ้าหน้าที่ที่ยุยงส่งเสริมด้วยวาจาหรือกิริยาใด ๆ ให้คนดูแนะนำหรือสนับสนุนผู้แข่งขันขณะดำเนินการอยู่จะต้องถูกห้ามไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่พี่เลี้ยงหรือเจ้าหน้าที่ต่อไปการแข่งขันคราวนั้น ถ้าพี่เลี้ยงถูกชี้ขาดให้ออกจากหน้าที่เขาจะต้องไปให้พ้นสนามแข่งขันตลอดจนเวลาการแข่งขันที่เหลืออยู่ในช่วงนั้นในช่วงการแข่งขันตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย ถ้าพี่เลี้ยวถูกให้ออกจากหน้าที่เป็นสองครั้ง เขาต้องถูกห้ามทำหน้าที่การเป็นพี่เลี้ยงตลอดไป

กติกาข้อที่ 10 ผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน (Referee and Judges )

ก. การแข่งขันเพื่อความชนะเลิศระดับนานาชาติ ต้องมีผู้ชี้ขาดที่สหพันธ์มวยไทยรับรองทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันในสังเวียน 1 คน แต่ไม่ต้องให้คะแนน ผู้ตัดสิน 5 คน ซึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของตน กรรมการลูกขุนไม่น้อยกว่า 3 คน และต้องมีประธานกรรมการควบคุมการแข่งขันเป็นผุ้ควบคุมการแช่งขันอยู่ด้วยอีก 1 คน

ถ้าผู้ตัดสินมีไม่เพียงพอ อาจใช้ 3 คน แทน 5 คนได้ แต่จะใช้เพื่อความชนะเลิศระดับนานาชาติไม่ได้

ข. ความขัดแย้งกันทางด้านผลประโยชน์ ผู้ที่ทำหน้าที่ผู้ชี้ขาดหรือผุ้ตัดสินในการแข่งขันจะต้องไม่ทำหน้าทีเป็นผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน พี่เลี้ยง ให้แก่นักมวยหรือทีมนักมวยที่เข้าร่วมแข่งขันในครั้งนั้น หรือปฏิบัติหน้าที่ในคู่แข่งขัน ที่มีผู้แข่งขันชาติเดียวกันกับตนเอง

ค. การปฏิบัติทางวินัย คณะกรรการฝ่ายเทคนิคสมาคมมวยฯ หรือผู้แทน มีอำนาจจำหน่ายผู้ชี้ขาดหรือผู้ตัดสินออกจากบัญชี (เป็นการชั่วคราวหรือถาวร) เมื่อขณะลูกขุนให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ชี้ขาดคนใดว่าไม่มีประสิทธิภาพหรือเห็นว่าการให้คะแนนของผู้ตัดสินคนใดไม่เป็นที่พอใจหรือขาดความยุติธรรม

ง. การจัดผู้ชี้ขาดเข้าทำหน้าที่แทน ถ้าผู้ชี้ขาดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ในคู่แข่งขันที่กำลังดำเนินอยู่ ผู้รักษาเวลาจะต้องตีระฆังเพื่อหยุดการแข่งขันและให้ผู้ชี้ขาดเป็นกลางคนต่อไปตามบัญชีที่จัดไว้ขึ้นทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันและดำเนินการแข่งขันต่อไป

จ. ข้อผูกพัน ผู้ชี้ขาด ผู้ตัดสิน ที่ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรการบริหารสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันตามคำเชิญชวนเว้นแต่บุคคลนั้นจะปฏิเสธการเชิญเป็นการส่วนตัวด้วยเหตุผลที่เพียงพอ

ถ้าหากมีองค์กรใดรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่นักกีฬาหรือการแข่งขันที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน องค์กรนั้นจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าเดินทางและค่าที่พักแก่ผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินที่ได้รับเลือกไปปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันนั้นด้วย

ฉ. คุณสมบัติในการเข้าเป็นและดำรงตำแหน่งในบัญชีผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นในระดับนานาชาติ

1. ผ่านการอบรมและทดสอบผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ไม่น้อยกว่า 5 คู่ ที่แข่งขันโดยสมบูรณ์และมีชื่อในบัญชีผู้ตัดสินของสมาคมมวยไทยสมัครเล่นของประเทศนั้น ๆ อย่างน้อย 6 ปี หรือได้รับคัดเลือกจากสมาคมมวยไทยสมัครเล่นนั้น ๆ

2. ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ประเทศนั้น ๆ ว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ เหมาะที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดหรือผู้ตัดสิน

3. จะต้องมีสมุดประจำตัวผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินเพื่อเป็นหลักฐานแสดงประสบการณ์ที่ผ่านมา และสมรรถภาพทางกายและหลักฐานที่มีสถานภาพเป็นสมัครเล่น

4. มีความสามารถในการพูดเป็นอย่างดีในภาษาที่เป็นสากล

5. ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด และผู้ตัดสินเป็นอย่างดี ตลอดเวลาดำรงตำแหน่ง

กติกาข้อที่ 11 คุณสมบัติของผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน (Qualifying of Referee and Judges )

1. เป็นชายหรือหญิงที่มีบุคลิกภาพดี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง

2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และไม่เกิน 60 ปี (ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีว่าเป็นผุ้ที่มีร่างกายและระบบประสาทที่สมบูรณ์)

3. จบการศึกษาไม่น้อยกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

4. ต้องผ่านการอบรมและผ่านการสอบเป็นผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินของสมาคมมวยไทยสมัครเล่น

5. มีบัตรประจำตัวสมุดประจำตัวผู้ชี้ขาดหรือผู้ตัดสินที่ออกโดยสมาคม

6. ผู้ชี้ขาดผู้ตัดสินสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มี 3 ระดับคือ A B C การแบ่งระดับจะกระทำโดยคณะกรรการผู้ตัดสินโดยสมาคมมวยไทยสมัครเล่นเป็นผู้แต่งตั้ง

7. ผู้ชี้ขาด ผู้ตัดสินระดับนานาชาติจะต้องอยู่ในระดับ A ซึ่งเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญเป็นอย่างดีในการปฏิบัติหน้าที่ติดต่อกันทุก ๆ ปี ไม่ต่ำกว่า 6 ปี ของสมาคมมวยไทยสมัครเล่น

8. ผู้ชี้ขาด ผู้ตัดสินดีเด่น ควรจัดไห้มีผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินดีเด่นในการแข่งขันแต่ละครั้ง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจสำหรับผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน

9. ผู้ชี้ขาด ผู้ตัดสินนานาชาติ จะได้รับการทดสอบจากคณะกรรการผู้ตัดสินนานาชาติได้รับการแต่งตั้งอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก ๆ 4 ปี

10. ผู้ชี้ขาด ผู้ตัดสินนานาชิที่ไม่ผ่านการทดสอบหรือตรวจสุขภาพสายตาจะถูกตัดออกจาบัญชีนานาชาติ แต่อาจจะได้รับแต่ตั้งเป็นเจ้าหน้าที่นานาชาติไนส่วนอื่น ๆ ของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นได้

11. ผู้ชี้ขาด ผู้ตัดสินนานาชาติ กิตติมศักดิ์ คณะกรรการบริหารสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นเป็นผู้พิจารณาให้เกียรติตลอดชีพแก่ผู้ชี้ขาดผู้ตัดสินเจ้าหน้าที่นานาชาติ ซึ่งเกษียณอายุไปแล้ว เป็นบุคคลที่แสดงความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดียิ่ง โดยมอบตำแหน่ง “ ผู้ชี้ขาดผู้ตัดสินกิตติมศักดิ์ของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่น” ให้เป็นเกียรติประวัติ

12. ผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบจรรยาบรรณผุ้ตัดสินของสมาคมมวยไทยสมัครเล่น สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ จะถูกตัดชื่ออกจากทะเบียนของสมาคมมวยไทยสมัครเล่นและสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ

กติกาข้อที่ 12 ผู้ชี้ขาด (The Referee )

ก. ความรับผิดชอบอันดับแรก คือ กรระมัดระวัง ผุ้แลเอาใจใส่ผู้แข่งขันไม่ให้เกิดบาดเจ็บหรือบอบซ้ำเกินควร

ข. หน้าที่ของผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดต้องปฏิบัติหน้าที่ในสังเวียน ต้องแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีกรมท่า เสื้อเชิ้ตสีขาวผูกหูกระต่ายสีกรมท่า รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อชนิดเบา ไม่มีสน สีดำ สวมถุงมือแพทย์ และผู้ชี้ขาดต้อง

1. รักษากติกาและความเป็นธรรมโดยเคร่งครัด

2. ควบคุมการแข่งขันทุกระยะโดยตลอด

3. ป้องกันผู้แข่งขันที่อ่อนแอกว่าไม่ให้รับความบอบช้ำมากเกินควรโดยไม่จำเป็น

4. ตรวจนวมและเครื่องแต่งกายของผู้แข่งขัน

5. เมื่อคู่แข่งขันร่ายรำไหว้ครูเสร็จเรียบร้อย ผู้ชี้ขาดเรียกนักมวยทั้งสองมาจับมือกันกลางเวทีแล้วจึงให้กลับเข้ามุมเพื่อสวมเครื่องป้องกันศีรษะและฟันยาง

6. ผู้ชี้ขาดต้องใช้คำสั่ง 3 คำ คือ

“ หยุด” เมื่อสั่งให้ผู้แข่งขันหยุด

“ ชก” เมื่อสั่งให้ผู้แข่งขันทำการแข่งขันต่อไป

“ แยก” เมื่อสั่งให้ผู้แข่งขันแยกออกจากกัน คำสั่งนี้ผู้แข่งขันตองถอยหลังมาก่อน แล้วจึงแข่งขันต่อ โดยผู้ชี้ขาดไม่ต้องสั่งว่า “ ชก” อีกก็ได้

7. แสดงสัญญาณหรือท่าทางที่เหมาะสม ให้ผู้แข่งขันที่ละเมิดกติกาทราบถึงความผิดของเขา

8. รวมใบคะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 5 คน และตรวจสอบแล้วส่งให้ประธานคณะกรรมการควบคุมการแข่งจัน เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน

9. ผู้ชี้ขาดจะต้องไม่ชี้ตัวผู้แข่งขันโดยชูมือผู้แข่งขัน หรือด้วยประการใดๆ จนกว่าจะมีการประกาศแล้ว เมื่อผู้ชนะได้ถูกประกาศแล้ว ผู้ชี้ขาดต้องชูมือผู้ชนะนั้นขึ้น

10. เมื่อผู้ชี้ขาดปรับผู้แข่งขันเป็นแพ้หรือยุติการแข่งขันจะต้องแจ้งให้ประธานกรรมการควบคุมการแข่งขันทราบก่อนว่าได้ปรับผู้เข้าแข่งขันคนใดแพ้หรือเหตุผลที่ได้ยุติการแข่งขัน เพื่อประธานจะแจ้งให้โฆษกประกาศให้ประชาชนทราบอย่างถูกต้องต่อไป

ค. การเตือน ผู้ชี้ขาดอาจเตือนผู้แข่งขันได้ การเตือนเป็นการแนะนำให้ผู้แข่งขันระมัดระวังหรือป้องกันไม่ให้กระทำสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นการละเมิดกติกาที่รุนแรงนัก ในการนี้ไม่จำเป็นต้องหยุดการแข่งขันแต่หาโอกาสที่เหมาะสมเตือนผู้แข่งขันที่ทำผิดกติกาในระหว่างการแข่งขันนั้นก็ได้

ง. การตำหนิโทษ ถ้าผู้แข่งขันละเมิดกติกา แต่ความผิดนั้นไม่ถึงขั้นให้ออกจากการแข่งขันผู้ชี้ขาดต้องหยุดการแข่งขันและสั่งตัดคะแนนแก่ผู้ละเมิดกติกานั้น ในการสั่งตัดคะแนนผู้ชี้ขาดต้องกระทำอย่างชัดแจ้งเพื่อให้ผู้แข่งขันเข้าใจเหตุผลและความมุ่งหมายของการสั่งตัดคะแนนนั้น ผู้ชี้ขาดจะต้องให้สัญญาณมือแก่ผู้ตัดสินทุกคนว้าได้มีการตัดคะแนนและชี้ตัวผู้แข่งขันที่สั่งตัดคะแนน ถ้าผู้แข่งขันถูกสั่งตัดคะแนน 3 ครั้งในคู่นั้น เขาจะถูกให้ออกจากการแข่งขัน หลังจากสั่งตัดคะแนนแล้วผู้ชี้ขาดต้องสั่ง “ ชก”

จ. การตรวจร่างกายของผู้ชี้ขาด ก่อนปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันระดับนานาชาติภายใต้กติกานี้ ผู้ชี้ขาดต้องได้รับการตรวจร่างกายว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์พอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในสังเวียนในขณะปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันห้ามผู้ชี้ขาดสวมแว่นตา แต่อนุญาตให้ใช้เลนส์ผลึกได้ และก่อนการแข่งขันทุกครั้งผู้ชี้ขาดต้องเข้าร่วมประชุมที่คณะกรรมการฝ่ายแพทย์จัดขึ้น

ฉ. อำนาจของผู้ชี้ขาด ผู้ชี้ขาดมีอำนาจดังต่อไปนี้

1. ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีฝีมือเหนือกว่าอีฝ่ายหนึ่งมาก

2. ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าผู้แข่งขันบาดเจ็บจนไม่สามารถแข่งขันต่อไปได้

3. ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าผู้แข่งขันไม่แข่งขันจริงจัง ในกรณีนี้อาจให้ผู้แข่งขันคนหนึ่งหรือทั้งสองคนออกจากการแข่งขันได้

4. การเตือนผู้แข่งขันหรือหยุดการแข่งขัน เพื่อสั่งตัดคะแนนผู้แข่งขันที่กระทำกฟาวล์หรือด้วยเหตุอื่น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมหรือเพื่อความแน่นอนในการปฏิบัติตามกติกา

5. ให้ผู้แข่งขันที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยฉับพลันหรือก้าวร้าวผู้ชี้ขาดหรือไม่ร่ายรำไหว้ครูตามประเพณีก่อนการแข่งขันออกจากการแข่งขัน

6. ให้พี่เลี้ยงที่ละเมิดกติกาออกจากหน้าที่และให้ผู้แข่งขันออกจากการแข่งขันถ้าพี่เลี้ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ชี้ขาด

7. ให้ผู้แข่งขันที่กระทำฟาวล์ออกจากการแข่งขันโดยเตือนตำหนิโทษหรือยังไม่ได้เตือนตำหนิโทษผู้แข่งขันนั้นมาก่อนก็ตาม ถ้ากระทำผิดอย่างรุนแรง

8. หยุดนับในการล้ม ถ้าผู้แข่งขันเจตนาไม่ไปหรือทำชักช้าที่จะไปมุมกลาง

9. ตีความกติกาเท่าที่บัญญัตินี้ หรือพิจารณาตัดสินและปฏิบัติตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

images

ใส่ความเห็น