ศิลปะการร่ายรำมวย

การรำไหว้ครูในมวยไทย

ไหว้ครูรำมวย เป็นการร่ายรำในกีฬามวยไทยเพื่อแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณและความเคารพต่อครูมวย เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เช่นเดียวกับวิชาการหลายแขนงของไทย ที่มักทำการไหว้ครูก่อน  และให้มีการสวมมงคลขณะทำการร่ายรำไหว้ครู เนื่องจากถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ท่าที่นิยมทำการไหว้ครูมากที่สุดคือ

1. พรหมสี่หน้า                                                        2.  เสือลากหาง

3. หงส์เหิร                                                               4. สาวน้อยประแป้ง

5. ยูงฟ้อนหาง                                                         6. ลับหอกโมกขศักดิ์

7. สอดสร้อยมาลา                                                   8.  กวางเหลียวหลัง

9. พระรามแผลงศร

10.พยัคฆ์ตามกวาง                                                     ฯลฯ

การรำไหว้ครูเริ่มจากนั่ง กราบเบญจางคประดิษฐ์ คุกเข่าถวายบังคม ขึ้นพรหมนั่ง-ยืน ท่ารำมวย (อาจมีการเดินแปลง ย่างสามขุม การรูดเชือก การบริกรรมคาถา) เพื่อสำรวจ ทักทายหรือข่มขวัญซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละค่าย หรือสำนัก โดยมีการบรรเลงดนตรีให้จังหวะในการต่อสู้ซึ่งใช้ “เพลงสะหระหม่าแขก” ใช้ในการไหว้ครู “เพลงบุหลันชกมวย” และ “เพลงเชิด” ใช้ในการต่อสู้ ส่วนเครื่องดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ปี่ชวา, กลองแขก และฉิ่ง

การไหว้ครูรำมวยในรูปแบบของมวยไทยโบราณ

การรำมวยไหว้ครูมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยมีที่มาของการที่นักมวยต้องไปพักอาศัยอยู่กับครูมวยเพื่อคอยปรนนิบัติรับใช้ เพื่อให้ครูมวยแน่ใจว่าลูกศิษย์ของตนเป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความมานะพยายาม และมีความเคารพศรัทธาต่อครูผู้สอน จึงจะมีการอนุญาตให้ทำพิธีขึ้นครู หรือในบางท้องถิ่นเรียกว่า พิธียกครู เพื่อแสดงถึงการยอมรับซึ่งกันและกันทั้งครูและศิษย์

ส่วนการไหว้ครูรำมวย เป็นการแสดงความเคารพต่อครู บิดา มารดา รวมทั้งเป็นการขอพรต่ออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อให้คุ้มครองตนให้ได้รับความปลอดภัยจากการชกมวย โดยแสดงออกเป็นท่ารำต่างๆที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูมวย รวมทั้งอาจมีการบริกรรมคาถาตามความเชื่อของแต่ละบุคคล  ปัจจุบัน ชาวไทยส่วนใหญ่ ได้หันมาให้ความสนใจด้านการรักษาสุขภาพโดยมุ่งเน้นวิธีการแบบชาวตะวันตก แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อภูมิปัญญาแบบไทยเท่าใดนัก ซึ่งให้ประโยชน์ทั้งการเสริมสร้างสุขภาพกายและใจให้เข้มแข็ง ตลอดจนปลูกฝังด้านธรรมะ ซึ่งแท้จริงแล้วการไหว้ครูมวยไทย ท่ารำมวยไทย ท่าแม่ไม้ ท่าลูกไม้ และการชกลมเล่นเชิง มีประโยชน์ในการเสริมสร้างสุขภาพกาย สุขภาพใจ และแฝงถึงความสำคัญด้านคุณธรรม และมีส่วนส่งเสริมเอกลักษณ์ความเป็นไทยประการหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ชาวไทยหลายคนมิได้ตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญดังกล่าว เนื่องจากสถาบันการพลศึกษามิได้มุ่งเน้นความสำคัญ และเด็กหลายคนมิได้รับการปลูกฝังจากผู้ใหญ่ ซึ่งแท้จริงแล้วการไหว้ครูรำมวยเป็นการปฏิบัติที่มิได้สื่อถึงการแสดงการขอบคุณต่อครูมวย หรือเพียงการอบอุ่นร่างกายเท่านั้น หากแต่เป็นการระลึกถึงสิ่งสำคัญที่ครูมวยได้สอนมา

จากบันทึกที่ ร.3 โปรดเกล้าให้อาลักษณ์รวบรวมจารึกไว้ที่วัดโพธิ์ ผู้ที่ไม่เข้าใจถ่องแท้ในศิลปะศาสตร์ของไทย มักเอาอย่างชาวตะวันตกมาประยุกต์เข้ากับการฝึกมวยไทย เฉพาะที่คิดว่า พิสูจน์ได้ทางกายภาพเป็นรูปธรรม ทอดทิ้งการศึกษา ค้นคว้า วิธีการเดิม ซึ่งเน้นการเข้าถึง นามธรรม อันปฏิบัติได้ยาก ทั้งไม่สามารถพิสูจน์ได้ง่าย จึงพากันหาว่า วิธีการเก่าๆเป็นเรื่องงมงาย ลึกลับ เชื่อถือไม่ได้ องค์ความรู้สำคัญในส่วนนี้จึงค่อยๆสูญสิ้นไป พร้อมกับบรมครูบุรพาจารย์

สาเหตุที่มีการไหว้ครูก่อนแข่ง

เพื่อเป็นการอบอุ่นร่างกาย

เพื่อเป็นการปลุกขวัญกำลังใจให้แก่ตน

เพื่อบอกกล่าวบางอย่าง

เพื่อเป็นการสำรวจพื้นที่ในเบื้องต้น

ความสมบูรณ์ของการไหว้ครูรำมวย

หากเราจะจำแนกท่าไหว้ครูรำมวยไทย อาจพิจารณาได้ว่า การไหว้ครูรำมวย นั้นมีความสมบูรณ์อย่างไร อาจพิจารณาได้จากหัวข้อต่อไปนี้:

มีท่าประสมจิต, สำรวมจิตหรือไม่

มีท่าสักการะ หรือไม่

มีท่าหลัก หรือท่าครู หรือไม่

มีท่าจำเพาะส่วน หรือไม่

มีท่าล้อเลียน, ยั่วเย้า หรือไม่

dsc_3041

ใส่ความเห็น